Return to ประวัติมหาวิทยาลัย 4 ยุค

ยุคที่ 3

ยุคที่ 3 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

logo3_

  • พ.ศ. 2531– พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล อันเป็นมงคลนามแทนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เมื่อวันที่15 กันยายน 2531 โดยมีรองศาสตราจารย์ธรรมนูญ ฤทธิมณี เป็นอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล นางประไพศรี สุภา เป็นผู้อำนวยการวิทยาเขตฯและได้เปลี่ยนชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาวิทยาเขตเทคนิค
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    – งดรับนักศึกษา ระดับฝึกหัดครูมัธยมอาชีวศึกษา (ปม.) และระดับปริญญาตรี สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม วุฒิ คอ.บ. (โยธา – ก่อสร้าง)

    – เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา วุฒิ วศ.บ. (โยธา)

    – เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์

  • พ.ศ. 2532– เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 สาขาวิชา คือ

    วิศวกรรมเครื่องกล วุฒิ วศ.บ. (เครื่องกล)

    2. วิศวกรรมอุตสาหการ วุฒิ วศ.บ. (อุตสาหการ)

    – เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ และแผนกวิชาช่างสำรวจ หลักสูตร 3 ปี โดยรับผู้สำเร็จ
    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (สายวิทย์ – คณิต)

    – สร้างอาคารเรียนคณะวิชาเทคนิคการผลิต

  • พ.ศ. 2533– เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาช่างยนต์ สาขางานรองเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ

    – เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตร 4 ปี รับนักศึกษาสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (สายวิทย์ – คณิต) แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์

    – สร้างอาคารอเนกประสงค์

    – วิทยาเขตฯ ได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่นในการอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมประจำปี 2533 จากคณะกรรมการโครงการรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมของกระทรวงศึกษธิการ

    – ผู้อำนวนการวิทยาเขตฯ นางประไพศรี สุภา ได้รับคัดเลือกจากคุรุสภาให้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น ระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2533

    – นางจิรพร อัตนโถ ได้รับคัดเลือกจากคุรุสภาให้เป็นครูภาษาดีเด่น ระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2533

  • พ.ศ. 2534– เปิดสอนระดับปริญญาตรี (ภาคสมทบ) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

    – เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ภาคสมทบ) หลักสูตร 4 ปี แผนกวิชาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ห้องเรียน

    – พิธีส่งมอบและเปิดศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีชุณหะวัณ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายดำรง รัตนพานิช เป็นประธานในพิธีผู้อำนวยการวิทยาเขต ฯ นางประไพศรี สุภา กล่าวรายงาน ในวันที่ 1 มิถุนายน 2534 ณ นิคมอุตสาหกรรมสุรนารี

    – ต่อเติมห้องสมุด วิทยาเขตฯ

    – วิทยาเขตฯ ร่วมกับประเทศสหสัมพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมันในโครงการ CDG – SEAPO เพื่อจัดอบรมสัมมนาศิษย์เก่า ผู้มีศักยภาพประกอบธุรกิจขนาดย่อม ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม – 22 กันยายน 2534

    – วิทยาเขตฯ ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่นประจำปี 2534 จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตน
    ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    – วิทยาเขตฯ จัดงานฉลองครบรอบ 35 ปี วข.อ.

  • พ.ศ. 2535– เปิดสอน (ภาคสมทบ) ในสาขาวิชาต่างๆเพิ่มดังนี้

    ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม 1 ห้องเรียน

    2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการบัญชี 1 ห้องเรียน, สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ หลักสูตร 4 ปี 1 ห้องเรียน

    3. ระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า – ไฟฟ้ากำลัง (ภาคสมทบ) 1 ห้องเรียน

    – สถาบัน ฯ ได้ปรับปรุงผังบริหารงานวิทยาเขตฯ โดยเพิ่มฝ่ายวางแผนและพัฒนา

    – ผู้อำนวยการวิทยาเขตฯ นางประไพศรี สุภา ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่น และสร้างเกียรติยสชื่อเสียงให้แก่คุรุสภา จากคณะกรรมการคุรุสภา อำเภอเมือง นครราชสีมา เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2535

    – วิทยาเขตฯ ได้สร้างสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 60 พรรษา ณ ศูนย์ฝึกภาคสนามหนองระเวียงในเนื้อที่ 200 ไร่

    – ปรับปรุงห้องปฏิบัติการรวมคณะวิชาเทคนิคเครื่องกล

  • พ.ศ. 2536– เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกวิชาอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา

    – เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาช่างโลหะ สาขางานรองหล่อโลหะ

    – เปิดสอนระดับระดับปริญญาตรีคณะวิศวกรรมเทคโนโลยี (ภาคปกติ) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า – ไฟฟ้ากำลัง (ภาคปกติ) และภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม (ภาคสมทบ)

    – สถาบันฯได้ปรับปรุงผังบริหารงานวิทยาเขตฯโดยเพิ่มฝ่ายการศึกษาต่อเนื่อง

    – สร้างโรงงานเครื่องปั้นดินเผา

    – ผู้อำนวยการวิทยาเขตฯ นางประไพศรี สุภา ได้รับรางวัลจากมูลนิธิศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย เพื่อการสังคมสงเคราะห์และพัฒนาสังคมให้เป็นคนดีศรีสังคม มีผลงานดีเด่นในด้านการศึกษาได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชน สังคมและประเทศชาติ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2536

  • พ.ศ. 2537– เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตร 2 ปี แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจและแม่พิมพ์ (ภาคสมทบ) หลักสูตร 4 ปี
    แผนกวิชาช่างยนต์ และแผนกวิชาช่างกลโรงงาน

    – เปิดสอนระดับปริญญาตรี คณะวิชาบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ (ภาคสมทบ) 1 ห้องเรียน

    – สร้างอาคารเรียนวิชาพื้นฐาน

    – วิทยาเขตฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงรับพื้นที่ส่วนหนึ่งของศูนย์ฝึกภาคสนาม
    หนองระเวียง จำนวนเนื้อที่ 1,000 ไร่ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

  • พ.ศ. 2538– เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตร 4 ปี แผนกวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร

    – เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 3 ปี ต่อเนื่อง สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม

    – วิทยาเขตสกลนคร ขอใช้สถานที่วิทยาเขตฯเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาการตลาดจำนวน 1 ห้องเรียน

    – วิทยาเขตฯ จัดโครงการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้นแกราษฎรในหมู่บ้านชนบททั่วไป

    – ต่อเติมซ่อมแซมโรงอาหารพร้อมระบบกำจัดน้ำเสีย และเครื่องอุปกรณ์พื้นที่ประมาณ 920 ตารางเมตร

  • พ.ศ. 2539– เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาสถาปัตยกรรมภายใน และแผนกวิชาอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา

    – เปิดสอนระดับปริญญาตรี คณะวิชาบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี (ภาคสมทบ)

    – สร้างบ้านพักครูแบบแฟลต 40 ครอบครัว พื้นที่ประมาณ 3,936 ตารางเมตร จำนวน 1 หลัง

    – ปรับปรุงอาคารเรียนแผนกวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม (อาคารอุตสาหกรรม 2) พื้นที่ 2,500 ตารางเมตร จำนวน 1 หลังและซ่อมแซมอาคารเรียน 5 (แผนกวิชาศิลปกรรม) จำนวน 1 หลัง

    – วิทยาเขตฯ จัดงานฉลองครบรอบ 40 ปี วข.อ.

    – สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานถ้วยรางวัลการแข่งขันกีฬาราชมงคล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • พ.ศ. 2540– เปิดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

    คณะวิชาช่างโยธา แผนกวิชาช่างก่อสร้าง

    2. คณะวิชาเทคนิคเครื่องกล แผนกวิชาช่างยนต์

    3. คณะวิชาช่างไฟฟ้า แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์

    4. คณะวิชาเทคนิคการผลิต แผนกวิชาช่างกลโรงงาน

    – งดรับนักศึกษาผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (หลักสูตร ปวส. 4 ปี) แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ แผนกวิชาช่างกลเกษตร แผนกวิชาช่างยนต์ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง และแผนกวิชาช่างสำรวจ

    – ยุบคณะวิชาออกแบบ และจัดตั้งคณะวิชาใหม่เป็น 3 คณะวิชา คือ

    1. คณะวิชาสถาปัตยกรรม มีแผนกวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม และแผนกวิชาสถาปัตยกรรมภายใน

    2. คณะวิชาออกแบบอุตสาหกรรม มีแผนกวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และแผนกวิชาอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา

    3. คณะวิชาศิลปกรรม มีแผนกวิชาศิลปกรรม แผนกวิชาจิตกรรม แผนกวิชาประติมากรรมและแผนกวิชาภาพพิมพ์

    – สถาบันฯ ได้จัดตั้งศูนย์วิทยบริการในแต่ละวิทยาเขตฯ ซึ่งประกอบด้วย แผนกห้องสมุด แผนกเทคโนโลยีการศึกษา แผนกการศึกษาด้วยตนเอง แผนกการศึกษาทางไกล และแผนกปริทรรศน์

    – ซ่อมแซมอาคารเรียน 4 จำนวน 1 หลัง

  • พ.ศ. 2541– งดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

    คณะวิชาช่างโยธา แผนกวิชาช่างก่อสร้าง

    2. คณะวิชาเทคนิคเครื่องกล แผนกวิชาช่างยนต์

    3. คณะวิชาช่างไฟฟ้า แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์

    4. คณะวิชาเทคนิคการผลิต แผนกวิชาช่างกลโรงงาน

    – วิทยาเขตฯ ได้รับเกียรติจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งกีฬาราชมงคลเกมส์ครั้งที่ 15 วิทยาเขตภาคตะวันออก
    เฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 24 – 31 มกราคม 2541 โดยมีการแข่งขันกีฬารวม 14 ประเภท

    – วิทยาเขตฯ ได้รับพระราชทานใบประกาศเกียรติคุณชั้นสามัญ เป็นสถานศึกษาที่ได้ให้ความร่วมมือในการจัดหาผู้บริจาคโลหิตเป็นหมู่คณะ
    เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างสม่ำเสมอนานกว่า 5 ปี จากสภากาชาดไทย

    – นายพันธ์ โกสีย์รัตน์ ได้รับคัดเลือกจากคุรุสภาให้เป็นครูภาษาไทยดีเด่น ระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2541

    – เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (หลักสูตร 3 ปี) รับนักศึกษาสำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 แผนกวิชา คือ

    1. แผนกวิชาบัญชี

    2. แผนกวิชาช่างสำรวจ

    3. แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

    4. แผนกวิชาช่างกลโรงงาน

    5. แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง

    6. แผนกวิชาช่างยนต์

    7. แผนกวิชาช่างโยธา

    8. แผนกวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม

    – เปิดสอนระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า – โทรคมนาคม ภาคปกติ จำนวน 1 ห้องเรียน

    – สร้างอาคารเรียนรวมคณะวิชาไฟฟ้า พื้นที่ประมาณ 5,140 ตารางเมตร จำนวน 1 หลัง

  • พ.ศ. 2542– เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (หลักสูตร 3 ปี) รับนักศึกษาผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนกวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

    – เปิดสอนระดับปริญญาตรี ภาควิชาการบัญชี (หลักสูตร 4 ปี)

    – สถาบันฯ ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานของวิทยาเขตฯ เป็นฝ่ายต่างๆดังนี้

    ฝ่ายวิชาการ

    2. ฝ่ายบริหาร

    3. ฝ่ายบริการการศึกษา

    4. ฝ่ายวิจัยและฝึกอบรม

    5. ฝ่ายวางแผนและพัฒนา

    6. ฝ่ายกิจการพิเศษ

    7. ฝ่ายกิจการนักศึกษา

    – พิธีเปิดป้ายศูนย์วัฒนธรรม วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันวัฒนธรรมราชมงคลเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีประชนมายุครบ 72 พรรษา พร้อมเปิดนิทรรศการในหลวงกับงานช่างและนิทรรศการเรือนไทยโคราช ณ ห้องนิทรรศการ
    อาคารอุตสาหกรรม 1

  • พ.ศ. 2543– งดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (หลักสูตร 4 ปี) แผนกวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์

    – ผศ.จันทร์เพ็ญ เตรีย์ศักดิ์กุล ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคุรุสภาจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นครูผู้สอนดีเด่น เนื่องในวันครู ประจำปี 2543

    – เปิดสอนระดับปริญญาตรี ภาควิชาการตลาด (ภาคสมทบ)

    – ปรับปรุงหอพักนักศึกษา (หอพัก รมณียนิเวศ) เป็นฝ่ายกิจการนักศึกษา จำนวน 1 หลัง

    – วิทยาเขตฯ ได้รับมอบหมายจากสถาบันฯให้เป็นผู้ดำเนินการบริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตปราจีน

    – วิทยาเขตฯ เป็นเจ้าภาพจัดงานราชมงคลร่วมใจสืบสานวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 3 ระหว่าง วันที่ 10 – 12 พฤศจิกายน 2543

  • พ.ศ. 2544– เปิดสอนระดับปริญญาตรี เรียนวันเสาร์ – อาทิตย์ 3 สาขา คือ สาขาบัญชี สาขาการจัดการทั่วไปและสาขาการจัดการอุตสาหกรรม

    – รับสมัครสอบคัดเลือกนักศึกษาให้กับวิทยาเขตปราจีนบุรี และสนับสนุนคณาจารย์ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และ คณะวิชาสามัญไปสอนที่วิทยาเขตปราจีน

    – วิทยาเขตปราจีนบุรี ขอใช้สถานที่วิทยาเขตฯเปิดสอนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลักสูตร 3 ปี จำนวน 1 ห้องเรียน

    – สร้างอาคารเรียนรวมคณะวิชาสถาปัตยกรรมแล้วเสร็จ เป็นอาคาร 5 ชั้น จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 46,480,000 บาท

    – สร้างอาคารเรียนรวมคณะวิชาบริหารธุรกิจ (แทนที่อาคาร 1) แล้วเสร็จ เป็นอาคาร 9 ชั้น จำนวน 1 หลัง พื้นที่ประมาณ 15,300 ตารางเมตร
    งบประมาณ 86,800,000 บาท

    – เริ่มทำการก่อสร้าง อาคารศูนย์วิทยบริการเป็นอาคาร 6 ชั้น จำนวน 1 หลัง พื้นที่ประมาณ 5,885 ตารางเมตร งบประมาณ 29,000,000 บาท

    – วิทยาเขตฯ ได้เสนอชื่อ อาจารย์ทวี รัชนีกร ได้รับรางวัลราชมงคลสรรเสริญ ซึ่งเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะทางทัศนศิลป์จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และรางวัลเชิดชูเกียรติคุณศิลปินดีเด่นจังหวัดนครราชสีมาสาขาทัศนศิลป์ ด้านประติมากรรม

    – นางนิภาพรรณ ศรีพงษ์ ได้รับคัดเลือกจากคุรุสภา ให้เป็นครูภาษาไทยดีเด่น ระดับอุดมศึกษาประจำปี 2544

    – วิทยาเขตฯ จัดงานสถาปนาครบรอบ 45 ปี และเป็นเจ้าภาพแข่งขันกีฬา “ราชมงคลอีสานเกมส์”ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2544