Return to ประวัติมหาวิทยาลัย

วิทยาเขตสุรินทร์

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ตั้งอยู่ระหว่างกิโลเมตร 2/400 – 3/200 ด้านทิศตะวันออกของ ถนน สายสุรินทร์ – ช่องจอม ในเขตพื้นที่ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เดิมตั้งขึ้นตามนโยบายของเสนาบดีกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ที่ได้กำหนดให้มณฑลและจังหวัดจัดตั้งสุริยราชวราภัย (ธานี วิเศษโกสินทร์) ข้าหลวงประจำจังหวัดสุรินทร์และขุนพิสุทธิวรวาท ธรรมการ จังหวัดสุรินทร์ จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2470 ที่บริเวณทุ่งนาด้านทิศตะวันออกของกำแพงเพมืองชั้นนอกของเมืองสุรินทร์ที่เรียกว่า ทุ่งยาง
(เวียลเวง) “โรงเรียนศรีสุรินทร์กสิกรรม” เป็นโรงเรียนประเภทประถมวิสามัญกสิกรรม สังกัดกรมวิสามัญ เปิดสอนทั้งระดับประถมสามัญ  เปิดรับนักเรียน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2473

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2481 จัดตั้งโรงเรียนเกษตรกรรมสุรินทร์ สังกัดกรมอาชีวศึกษาที่บริเวณริมฝั่งห้วยเสนง ฝั่งขวา ด้านทิศตะวันตกของถนนสายสุรินทร์ – ช่องจอม

พ.ศ. 2483 ย้ายโรงเรียนเกษตรกรรมสุรินทร์มาอยู่ฝั่งทิศตะวันออกของถนน สุรินทร์ – ช่องจอม คือ ที่ปัจจุบัน ในปีเดียวกันนั่นเองได้เริ่มบุกเบิกพื้นที่เป็นเวลา 2 ปี ได้พื้นที่ทั้งหมด 1,500 ไร่

พ.ศ.2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนเกษตรกรรมสุรินทร์ ซึ่งทางโรงเรียนจัดสร้างศาลาที่ประทับแบบจัตุรมุขทรงโปร่งทั้ง 4 ด้าน และตกแต่งบริเวณโดยรอบให้สวยงามด้วยพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ซึ่งต่อมาขนานนามสถานที่แห่งนี้ว่า “เกาะเสด็จประภาส”

พ.ศ.2508 โรงเรียนเกษตรสุรินทร์ได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมสุรินทร์ พ.ศ.2518 วิทยาลัยเกษตรกรรมสุรินทร์ เข้าสังกัดกรมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา   กระทรวงศึกษาธิการ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรสุรินทร์”

พ.ศ.2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามใหม่เป็น
“สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุรินทร์”

พ.ศ.2548 ได้ยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์” ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม     พ.ศ.2548

ปัจจุบันเปิดสอน 2 คณะ ได้แก่

คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะเทคโนโลยีการจัดการ

surin