Return to ประวัติมหาวิทยาลัย 4 ยุค

ยุคที่ 1

ยุคที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

logo11

                   สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา เดิมชื่อ วิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
เป็นสถาบันอาชีวะศึกษา และช่างเทคนิคชั้นสูง ประเภทสหศึกษา สังกัด กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการวิทยาลัยฯ

                  สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา เดิมชื่อ วิทยาลัยเทคนิค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา เป็นสถาบันอาชีวศึกษา และช่างเทคนิคชั้นสูง ประเภทสหศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ วิทยาลัยฯ ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางของเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 320 ไร่ ทิศเหนือติดถนนสุรนารายณ์ ทิศใต้ติดคลองลำตะคองทิศตะวันออกติดที่ดินของ เอกชนและทิศตะวันตกจรดบริเวณสถาบันราชภัฎ นครราชสีมา บริเวณนี้แต่เดิมมีต้นตะโกขึ้นอยู่เป็นจำนวน มาก ดังนั้นบริเวณนี้จึงมีชื่อเรียกกันว่า ทุ่งตะโกราย

                 วิทยาลัยฯ เริ่มเปิดดำเนินการเรียนการสอนวันแรก เมื่อวันที่5 มิถุนายน 2499 โดยขอใช้อาคารไม้ของโรงเรียนการช่าง นครราชสีมา
เป็นสถานที่เรียน รับนักศึกษาที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6   เข้าศึกษา หลักสูตรระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง 3 แผนกวิชา คือ

     1. แผนกวิชาบัญชีและเลขานุการ

     2. แผนกวิชาช่างก่อสร้าง

    3. แผนกวิชาช่างไม

วันที่ 28 กรกฎาคม 2499 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนหลังแรก (อาคารคณะวิชาบริหารธุรกิจ) โดยมี ฯพณฯ พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี ในขณะนั้นมีครู อาจารย์  7 คน นักศึกษา 90 คน โดยมีนายเสงี่ยม วัฒนธรรม เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ
นับตั้งแต่ปีการศึกษา มีลำดับโดยย่อดังนี้

  • 2500– เปิดแผนกวิชาเขียนแบบสถาปัตยกรรม และสร้างโรงฝึกงาน

  • 2501– เปิดแผนกวิชาช่างยนต์ ช่างโลหะ ช่างไฟฟ้า รวมทั้งสร้างหอประชุม และโรงงานช่างกลโลหะ

  • 2502– เปิดขยายแผนกช่างก่อสร้างถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

  • 2503– เปิดขยายแผนกวิชาสถาปัตยกรรม ถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สร้างอาคารเรียนอุตสาหกรรม 1 (อาคาร 2 ปัจจุบัน)

  • 2504– สร้างโรงงานช่างยนต์

  • 2505– สร้างอาคารคุรุสัมมนาคาร

    – เปิดแผนกวิชาออกแบบอุตสาหกรรม (หลักสูตร 5 ปี)

    – เปิดขยายแผนกวิชาบัญชีและเลขานุการถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงโดยเรียกว่าคณะ
    บริหารธุรกิจ

    – เปลี่ยนระบบการเรียนแบบ 3 เทอม มาเป็นแบบ 2 ภาคเรียน

    – สร้างโรงงานช่างโลหะ

  • 2506– เปิดแผนกวิชาช่างกลเกษตร

    – เปิดรับนักศึกษาผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.8 เดิม) เข้าเรียนในแผนกวิชาบัญชี ช่างโยธา
    ช่างก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

    – สร้างโรงงานช่างก่อสร้าง และโรงงานหล่อโลหะ

  • 2507– พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมโรงงานการฝึกปฏิบัติงาน การจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยฯ โดยมีนายวทัญญู ณ ถลาง
    ผู้อำนวยการ คณาจารย์ และนักศึกษาเฝ้ารับเสด็จฯเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2507

        – เปิดรับนักศึกษาผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าเรียนในแผนกวิชาช่างกลโลหะในระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และเปิดอบรมช่างเพื่อการเร่งรัดพัฒนาชนบท

  • 2508– เปิดรับนักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า เข้าศึกษาในแผนกวิชา
    เครื่องจักรกลหนักในระดับประกาศนียบัตรครูช่างเทคนิคชั้นสูงในโครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท

    – เปิดรับนักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกวิชาช่างไม้ เข้าศึกษาในแผนกวิชาออกแบบอุตสาหกรรมในระดับ
    ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาเฟอร์นิเจอร์ และทำแบบหล่อโลหะ

    – สร้างอาคารเรียนอุตสาหกรรม 2 (อาคาร 3 ปัจจุบัน) โรงงานช่างจักรกลหนัก และอาคารเรียนของ
    โครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท

  • 2509– เปลี่ยนชื่อแผนกวิชาออกแบบอุตสาหกรรมเป็นแผนกวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และเปิดแผนกศิลปกรรม

  • 2510– เปิดรับนักศึกษาผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5เข้าศึกษาในแผนกวิชาช่างยนต์

    – แยกนักศึกษา ปีที่ 1-3 ของแผนกวิชาการบัญชีออกมาเป็นแผนกพณิชยการ

    – สร้างหอพักชายภาติกวัฒน์

  • 2511– สร้างหอพักหญิงคุรุคามวาสี อาคารเรียน คณะวิชาออกแบบและโรงเก็บรถยนต์

  • 2512– เปิดขยายแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง และแผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

    – เปิดแผนกวิชาใหม่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในแผนกวิชาช่างจักรกลหนัก เลขานุการ ช่าง
    เขียนแบบโยธา โดยรับจากผู้สำเร็จชั้นมัธนมศึกษาปีที่ 6 และแผนกวิชาช่างสำรวจ รับจากผู้สำเร็จ ชั้น
    มัธยมศึกษาปีที่ 5

    – เปิดแผนกฝึกหัดครูมัธยม โดยรับจากผู้สำเร็จการศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ทุกสาขา
    เข้าศึกษาเป็นเวลา 1 ปีครึ่ง

    – สร้างโรงเก็บพัสดุของ T.A.D

    – วิทยาลัยฯได้ดำเนินการขอสิทธิครอบครองที่ดินในตำบลหนองระเวียงมีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ เพื่อ
    ใช้เป็นพื้นที่ฝึกวิชาชีพภาคสนามเตรียมการขยายงาย และเพิ่มบทบาทของวิทยาลัยฯ ให้สอดคล้องกับ
    แผนพัฒนาการศึกษาในอนาคต

  • 2513– เปิดสอนภาคบ่าย

    – สร้างอาคารปฏิบัติงานทดสอบดิน หอพักชายรมณียนิเวศน์ อาคารเรียนคณะวิชาช่างไฟฟ้า อาคาร
    โรงอาหาร ต่อเติมอาคารเรียนคณะวิชา โครงการ รพช. ต่อเติมโรงงานประปาและถังพักน้ำหอพัก
    ชาย – หญิง

  • 2514– ต่อเติมอาคารหอประชุม ด้านอาคารอุตสาหกรรม

  • 2515– วิทยาลัยฯ ได้รับการพิจารณา เข้าโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา เริ่ม ปีพ.ศ. 2515-2519

    – งดรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าศึกษาต่อ

  • 2516– สร้างโรงงานประติมากรรมแผนกวิชาศิลปกรรม

  • 2517– สร้างห้องสมุด ศูนย์โสตทัศนศึกษา เป็นอาคาร 2 ชั้น และอาคารเรียนโครงการพัฒนาอาชีวศึกษา(อาคาร 7)

  • 2518– งดรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาพานิชยการ

    – สร้างอาคารทดสอบวิจัยโครงการพัฒนาอาชีวศึกษา (อาคาร 8 ) และโรงงานช่างไฟฟ้า โครงการพัฒนา
    อาชีวศึกษา

  • 2519– เปิดแผนกวิชาการเงินและการธนาคาร

    – เปลี่ยนระยะเวลาเรียน แผนกวิชาฝึกหัดครูมัธยมจาก 1 ปี ครึ่ง เป็น 1 ปี